ยื่น ป.ป.ช.ฟัน “ประธานฯแพทย์ชนบท -หมออารักษ์” จัดหา ATK 8.5 ล้านชุด ส่อล็อกสเปก-มีพฤติกรรมข่มขู่

ความจริง! ประเทศไทย

 

วันนี้ (30 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายแพทย์วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อํานวยการองค์การเภสัชกรรม ได้ยื่นคำร้องสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ขอร้องเรียนพฤติกรรมของ นายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบทและเครือข่ายชมรมแพทย์ชนบท และ นายแพทย์อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล ในฐานะคณะทํางานกําหนดอัตราค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขในระบบ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทําผิดต่อพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงาน ของรัฐ พ.ศ. 2542 กรณีการจัดหาชุดตรวจสําหรับ COVID-19 ประเภท Antigen Test Kits จํานวน 8,500,000 ชุด

1. กระบวนการปกติในการจัดหายา เวชภัณฑ์ ตามแผนของ สปสช. (สํานักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
2. การจัดหาชุดตรวจสําหรับ COVID-19 ประเภท Antigen Test Kits จํานวน 8,500,000 ชุด มีข้อพิรุธ ต่อพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542
3. ความเสียหายที่เกิดขึ้น มีรายละเอียดดังนี้ 1. กระบวนการปกติในการจัดหายา เวชภัณฑ์ ตามแผนของ สปสช.
ตามคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พ.ศ. 2560 ระบุว่า สปสช.ไม่มีอํานาจในการจัดหายาและเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้มอบหมายโรงพยาบาลราชวิถี จัดหายาและเวชภัณฑ์ ให้ สปสช. ตั้งแต่ พ.ศ. 2561 ซึ่งโรงพยาบาลราชวิถี ได้มอบหมายให้องค์การเภสัชกรรม เป็นผู้จัดหายา และเวชภัณฑ์ให้ มีขั้นตอนดังนี้

1.1 สปสช.จัดทําแผนความต้องการยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จําเป็นตาม โครงการพิเศษ ส่งให้ รพ.ราชวิถี
1.2 รพ.ราชวิถี ส่งแผนความต้องการยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จําเป็นตาม โครงการพิเศษ ให้องค์การเภสัชกรรม และจัดทํา Spec ของแต่ละรายการให้องค์การเภสัชกรรม และมีวงเงิน กําหนดงบประมาณมาให้
1.3 องค์การเภสัชกรรม ดําเนินการจัดหา ยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตามแผน และ Spec ที่ได้รับ ตามข้อบังคับองค์การเภสัชกรรมว่าด้วยการพัสดุเพื่อการผลิตและจําหน่าย พ.ศ. 2561
1.4 เมื่อเสร็จกระบวนการตามข้อ 1.3 องค์การเภสัชกรรมแจ้งผลเสนอคณะอนุกรรมการ จัดทําแผนการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จําเป็นตามโครงการพิเศษ (ปลัดกระทรวง สาธารณสุข เป็นประธาน) ขอมติเห็นชอบ
1.5 องค์การเภสัชกรรมทําสัญญาจะซื้อจะขาย / ใบสั่งซื้อ กับ Supplier
1.6 รพ.ราชวิถีทําสัญญาจะซื้อจะขาย / ใบสั่งซื้อ กับองค์การเภสัชกรรม

2. การจัดหาชุดตรวจสําหรับ COVID-19 ประเภท Antigen Test Kits จํานวน 8,500,000 set มีข้อพิรุธ ผิดต่อพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงาน ของรัฐ พ.ศ. 2542

สปสช. โดย คณะอนุกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์การดําเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน มีคําสั่งที่ 5/2564 แต่งตั้ง คณะทํางานกําหนดอัตราค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ ประกอบด้วย
นายเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานคณะทํางาน
นายวชิระ บฏพิบูลย์ คณะทํางาน
นายอารักษ์ วงศ์วรชาติ คณะทํางาน
นางกฤติยา ศรีประเสริฐ คณะทํางาน
นางกาญจนา ศรีชมภู คณะทํางาน
นางเบญจมาศ เลิศชาคร คณะทํางาน
นางอัญชลี หอมหวล คณะทํางาน

มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

• จัดทําแนวทางในการกําหนดอัตราค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
• ดําเนินการต่อรองราคากับบริษัทผู้ขาย เพื่อให้ได้อัตราค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขที่เหมาะสม
• จัดทําข้อเสนอเพื่อพิจารณาปรับปรุงอัตราจ่ายค่าบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และรายงานต่อคณะอนุกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์การดําเนินงานและบริหารจัดการกองทุน
• เสนอแต่งตั้งคณะทํางาน และหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญร่วมให้ความเห็นในการดําเนินการ
• ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย (ผู้ร้องไม่มีคําสั่งฉบับนี้)

วันที่ 14 กรกฎาคม 2564 คณะทํางานฯ ดังกล่าว เสนอวาระการเตรียมการจัดหา Antigen Test Kit สําหรับประชาชน ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ต่อ คณะอนุคณะอนุกรรมการจัดทําแผนการ จัดซื้อยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จําเป็นตามโครงการพิเศษ เพื่อนําเสนอคณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อไป (ผู้ร้องไม่มีเอกสารรายงานการประชุมฉบับนี้)

วันที่ 22 กรกฎาคม 2564 สปสช. โดย นายจักรกริช โง้วศิริ รองเลขาธิการ ปฏิบัติการแทน เลขาธิการ สปสช ทําหนังสือที่ สปสช. 4.69/14620 ถึงผู้อํานวยการ รพ.ราชวิถี แจ้งให้ “โรงพยาบาลราชวิถี ดําเนินการจัดซื้อจัดหา ชุดตรวจและน้ํายาที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยการติดเชื้อ SARS COV-2 (เชื้อก่อโรค COVID-19) แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (COVID-19 Antigen test self-test kits) จํานวนเบื้องต้น 8.5 ล้านชิ้น ภายใต้วงเงิน 1,014 ล้านบาท เป็นกรณีเร่งด่วน เพื่อให้ทันต่อความต้องการตรวจวินิจฉัย คัด กรอง ผู้ติดเชื้อ COVD-19 ภายในวันที่ 7 สิงหาคม 2564 ทั้งนี้ หากดําเนินการจัดซื้อจัดหาแล้วเสร็จ ขอให้ ดําเนินการสรุปผลการจัดหาแจ้งต่อสํานักงานหลักประกันสุขภาพโดยด่วน เพื่อนําเสนอต่อคณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ คณะอนุกรรมการจัดหายา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จําเป็น ตามโครงการพิเศษรับทราบต่อไป” โดยแนบ “ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กําหนด มาตรฐานและการประเมินชุดตรวจและน้ํายาที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยการติดเชื้อ SARS-CoV-2 (เชื้อก่อโรค COVID-19) พ.ศ. 2564” มาให้ (เป็นขั้นตอนปกติตามข้อ 1.1) (เอกสารแนบ 1) เนื่องจากเป็นเรื่องเร่งด่วน ภญ.สมฤทัย สุพรรณกูล (ชื่อในไลน์ : เจี๊ยบ) ผู้อํานวยการสํานักสนับสนุนระบบบริการยาและเวชภัณฑ์ สปสช จึงได้ส่ง file เอกสารดังกล่าวมาให้ในไลน์กลุ่ม “ทีม สปสช., ราชวิถี, อภ.” เพื่อให้องค์การเภสัชกรรมดําเนินการ คู่ขนานกันไป และตามขั้นตอนปกติตามข้อ 1.2 ทาง รพ.ราชวิถี จะเป็นผู้จัดทํา spec ให้ องค์การเภสัชกรรม จึงได้สอบถามไปในไลน์ว่า “เรื่องสเปก ทางราชวิถีทําให้ อภ.ได้เลยมั้ยครับ จากสิ่งที่ส่งมาด้วยในหนังสือ สปสช” ภญ.สมฤทัย สุพรรณกูล (ชื่อในไลน์ : เจี๊ยบ) ตอบว่า “จากคําแนะนํา ของกรมบัญชีกลาง ทางราชวิถี จะต้องทํา spec อีกรีคะ น่าจะอ้างมาตรฐาน อย.ได้เลยนะคะ” องค์การเภสัชกรรมจึงได้นํามาตรฐาน อย. มาเป็น spec ในการจัดหา (เอกสารแนบ 2) เอกสารตัวจริงจาก รพ.ราชวิถี เป็นหนังสือที่ สธ 0304/6304 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 ส่งถึงองค์การเภสัชกรรมวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 เป็นขั้นตอนปกติตามข้อ 1.2 (เอกสารแนบ 3)

วันที่ 23 กรกฎาคม 2564 องค์การเภสัชกรรมได้ประชุมร่วมกับ สปสช และ รพ.ราชวิถี เพื่อพิจารณารายละเอียดการดําเนินการ อีกทั้งได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ประกอบการที่ติดต่อได้ 7 ราย (จากที่ได้ ขึ้นทะเบียนชุดตรวจ ATK ไว้กับ อย.แล้วทั้งหมด 10 ราย) ถึงความสามารถในการส่งมอบชุดตรวจ ATK พบว่า ไม่มีรายใดสามารถส่งชุดตรวจ ATK 8.5 ล้านชุดได้ทันภายในวันที่ 7 สิงหาคม 2564 ที่ประชุมจึงได้ปรับการ ส่งของ เป็น 3 งวด งวดที่ 1 จํานวน 300,000 ชุด ภายในวันที่ 7 สิงหาคม 2564 งวดที่ 2 จํานวน 2,000,000 ชุด ภายในวันที่ 10 สิงหาคม 2564 งวดที่ 3 จํานวน 2,000,000 ชุด ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2564 งวดที่ 4 จํานวน 2,000,000 ชุด ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 งวดที่ 5 จํานวน 2,200,000 ชุด ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2564 และเริ่มดําเนินกระบวนการจัดหาโดยวิธีคัดเลือก ตามข้อบังคับองค์การเภสัชกรรมว่าด้วยการพัสดุเพื่อการผลิตและจําหน่าย พ.ศ. 2561 ข้อ 11 (2) (เอกสาร แนบ 4) อีเมลเชิญผู้ประกอบการทั้ง 10 ราย ให้เข้ามายื่นซองเสนอราคาในวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 (เอกสารแนบ 5) (เป็นขั้นตอนปกติตามข้อ 1.3)

วันที่ 24 กรกฎาคม 2564 องค์การเภสัชกรรม ไลน์สอบถาม ภญ.สมฤทัย สุพรรณกูล ว่า วันที่ 27 กรกฎาคม สปสช จะมาร่วมสังเกตการณ์หรือไม่ (ตามปกติทั้ง สปสช และ รพ.ราชวิถี จะไม่เข้ามาร่วม สังเกตการณ์ แต่ครั้งนี้เป็นเหตุการณ์พิเศษและเร่งด่วนจึงได้สอบถามไป) ภญ.สมฤทัยฯ แจ้งว่า นพ.เกรียงศักดิ์ หรือคุณอัญชลี จะเข้ามาสังเกตการณ์ และ องค์การเภสัชกรรม ได้ส่ง Link Zoom meeting ไปให้ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2564 เวลา 14.30 น. (เอกสารแนบ 6)

วันที่ 27 กรกฎาคม 2564 ซึ่งเป็นวันเปิดซอง มีกําหนดยื่นซองเอกสารและซองราคา เวลา 8.30-4.00 น. มีบริษัทตอบกลับรับทราบกําหนดการเสนอราคาดังกล่าว จํานวน 4 ราย บริษัทที่ไม่ตอบ กลับได้แก่ บริษัทเอ็มพีกรุ๊ป (standard O) มีผู้เข้าร่วมเสนอราคาที่มีคุณสมบัติและเสนอรายละเอียด ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเป็นไปตามที่กําหนด จํานวน 5 ราย ได้แก่ บริษัท โรช ไดแอทโนสติกส์ (ประเทศไทย) จํากัด, บริษัท เจเนอรัลไซเอนซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จํากัด, บริษัท ออสท์แลนด์ แคปปิตอล จํากัด, บริษัท ดีซีเอซ ออริกา (ประเทศไทย) จํากัด, บริษัท สเปเชียลตี้ อินโนเวชั่น จํากัด และ บริษัท ซีเมนส์ เฮลท์แคร์ จํากัด ในการ นี้ มีเหตุการณ์ที่เป็นข้อพิรุธ คือ บริษัท เอ็มพีกรุ๊ป (standard Q) ไม่ได้มายื่นซองในเวลาที่กําหนด จะขอยื่นซองทางอีเมล องค์การเภสัชกรรมแจ้งไม่สามารถรับซองทางอีเมลได้ เนื่องจากแจ้งเงื่อนไขไว้ในแบบ เชิญยื่นซองแล้วว่า ต้องยื่นที่ห้องรับซอง-เปิดซอง 1 ชั้น 2 อาคารอํานวยการ องค์การเภสัชกรรม บริษัทเอ็มพีกรุ๊ป ทําผิดเงื่อนไขจึงไม่ได้เข้าร่วมการเสนอราคา เมื่อ นายเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ และ นายอารักษ์ วงศ์วรชาติ เห็นว่า กรรมการเปิดซองไม่รับบริษัท เอ็มพีกรุ๊ป แน่แล้ว จึงได้ข่มขู่กรรมการ เปิดซองว่าไปตัดสิทธิผู้ค้ารายใหญ่ที่อยู่ใน List ที่ WHO รับรองไม่ได้ ต้องให้บริษัทเอ็มพีกรุ๊ป เข้ามาสู่ กระบวนการแข่งขันให้ได้ และพูดหลายครั้งว่า ถ้ายังเดินหน้าต่อไป กรรมการเปิดซอง/คุณศิรินุช จะต้อง รับผิดชอบ นอกจากนี้ ยังอ้างเรื่องการจัดส่งว่าต้องให้ส่งไปทั่วประเทศไม่ใช่ส่งที่องค์การเภสัชกรรม ทั้งที่ เดิมไม่เคยตกลงไว้แบบนี้มาก่อน ทําให้ในที่สุดกรรมการก็จําเป็นต้องยกเลิกการเปิดซองในครั้งนี้ไป (เอกสารแนบ 7 – เอกสารถอดเทปจะส่งตามมาภายหลัง) องค์การเภสัชกรรมได้ทําหนังสือขออนุมัติจาก

ผู้อํานวยการเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 และอีเมลแจ้งบริษัททั้ง 5 ราย ในวันที่ 6 สิงหาคม 2564 (เอกสารแนบ 8)

วันที่ 28 กรกฎาคม 2564 สปสช โดยนายจเด็จ ธรรมธัชอารี ได้ทําหนังสือที่ สปสช. 6.70/15444 ถึงผู้อํานวยการ รพ.ราชวิถี (เอกสารแนบ 4) เพิ่มรายละเอียดใน spec ดังนี้
1) กําหนดระยะเวลาส่งมอบชุดตรวจ จํานวน 4.5 ล้านชุด โดยเร็วที่สุด และใช้วิธีการจัดหา เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และรวดเร็ว ให้ทันต่อสถานการณ์แพร่ระบาด
2) ชุดตรวจ ต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือ ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก WHO ซึ่งชุดตรวจต้องมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในระดับประเทศและระดับ
สากล
3) อัตราราคาชุดตรวจ รวมค่าขนส่งชุดตรวจไปยังหน่วยบริการ สถานบริการ หรือหน่วยงาน ที่ สปสช.กําหนด และรวมถึงค่าบริหารจัดการที่อาจเกิดขึ้นขององค์การเภสัชกรรมแล้ว

วันที่ 29 กรกฎาคม 2564 นายเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ในฐานะประธานคณะทํางาน กําหนดอัตราค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ทําหนังสือที่ สปสช. 6.70/0271 ถึง เลขาธิการ สปสช. เสนอให้จัดหาโดยวิธีเฉพาะเจาะจง คุณภาพผ่านการรับรองมาตรฐาน จากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาและได้รับการรับรองมาตรฐานจาก WHO อัตราการจัดหาไม่เกิน 120 บาท/ชุด รวมค่าขนส่งไปยังหน่วยบริการในพื้นที่และค่าบริหารจัดการที่อาจเกิดขึ้นขององค์การเภสัชกรรมแล้ว และส่งมอบงวดที่ 1 จํานวน 3,000,000 ชุด ภายใน 1 วัน นับจากวันลงนามในสัญญา งวดที่ 2 จํานวน 3,000,000 ชุดภายใน 3 วันนับจากวันลงนามในสัญญา งวดที่ 3 จํานวน 2,500,000 ชุด ภายใน 14 วันนับจากวันลงนามในสัญญา (โดยแนบ spec ลงลายมือชื่อ นายเกรียงศักดิ์ มาด้วย) (เอกสาร แนบ 10) ในการนี้ จะเห็นข้อพิรุธว่า นายเกรียงศักดิ์ เสนอเปลี่ยน spec ที่เลขาธิการ สปสช.แจ้ง รพ.ราชวิถี ไปว่า ต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือได้รับการรับรองมาตรฐานจาก WHO เปลี่ยนมาเป็นต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและ ยาและได้รับการรับรองมาตรฐานจาก WHO เมื่อประกอบกับราคา 120 บาท (บริษัท เอ็มพีกรุ๊ป เสนอ 120 บาท บริษัท Abbott เสนอ 140 บาท) จึงเป็นการล็อก spec ให้ บริษัท เอ็มพีกรุ๊ป (Standard Q) เข้ามา ได้บริษัทเดียวเท่านั้น (ในขณะนั้น บริษัท เอ็มพีกรุ๊ป ยังยืนยันว่า ผลิตภัณฑ์ของตน ผ่านการรับรองมาตรฐาน จาก WHO ยังไม่มีใครทราบว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองเป็นคนละรายการกัน) และยังกําหนดให้มีการจัดส่งถึง 5 ล้านชุดภายใน 3 วันหลังทําสัญญา ก็เป็นการล็อก spec เช่นกัน พร้อมกันนั้น ได้ทําหนังสือเสนอ ให้เลขาธิการ สปสช.ลงนามถึง รพ.ราชวิถี ข้อความตามที่ตนเสนอ (เอกสารแนบ 10) ซึ่งเลขาธิการ สปสช.ได้ ลงนามหนังสือดังกล่าว จึงทําให้มีผลเปลี่ยนแปลง spec เป็นไปตามที่ นายเกรียงศักดิ์ เสนอ (เอกสารแนบ 11) ซึ่ง รพ.ราชวิถี ได้ทําหนังสือที่ สธ0304/6467 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2564 แจ้ง spec ดังกล่าวมาที่ องค์การเภสัชกรรม (เอกสารแนบ 12)

อนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบมาตรฐานของ WHO และ อย.พบว่า มาตรฐาน อย.สูงกว่า WHO โดย WHO กําหนด sensitivity มากกว่าหรือเท่ากับ 80% ในขณะที่ อย.กําหนด 90% และ WHO กําหนด specifictity มากกว่าหรือเท่ากับ 97% ในขณะที่ อย.กําหนด 99% จึงเห็นข้อพิรุธอย่างชัดเจน ว่า การที่เพิ่มมาตรฐาน WHO เข้าไป ไม่ได้ทําให้ได้ของที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น แต่เป็นการกีดกันผู้ประกอบการ รายอื่นที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน WHO ล็อก spec ให้กับบริษัทเอ็มพีกรุ๊ป (Standard Q) (เอกสารแนบ 13)

วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 องค์การเภสัชกรรม ส่งอีเมลถึง สปสช.ขอให้แจ้งรายละเอียด เพิ่มเติม เพื่อใช้ประกอบในการจัดหา ATK “ผู้จัดทํา TOR ย่อมต้องทราบว่ามีผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรง ตาม TOR จํานวนกี่ราย ขอให้แจ้งชื่อผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตาม TOR ดังกล่าวมาให้ อภ.ทราบทุก รายด้วย หากมีผู้ประกอบการที่เข้าตาม TOR ดังกล่าวมากกว่า 1 ราย อภ.จะดําเนินการโดยวิธีคัดเลือกเร่งด่วน แต่หากมีผู้ประกอบการที่เข้าได้ตาม TOR เพียงรายเดียว จึงดําเนินการโดยวิธีเฉพาะเจาะจง” (เอกสารแนบ 14)

วันที่ 1 สิงหาคม 2564 สปสช.ทําหนังสือที่ สปสซ. 6.30/15448 ถึงผู้อํานวยการ รพ.ราชวิถี อ้างถึง คณะทํางานกําหนดอัตราค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งนายเกรียงศักดิ์ฯ เป็นประธาน แจ้งว่าต้องการใช้ชุดตรวจ ATK อย่างเร่งด่วน จึงขอยกเลิก spec เดิมทั้งหมด (ตามหนังสือลงวันที่ 22, 24, 29 กรกฎาคม 2564) และให้ใช้ spec ใหม่แทน โดยมีสาระสําคัญที่เปลี่ยน คือ ตัดมาตรฐาน WHO ออก และ ให้ส่งชุดตรวจทั้งหมดภายในวันที่ 10 สิงหาคม 2564 (เอกสารแนบ 15) วันที่ 5 สิงหาคม 2564 องค์การเภสัชกรรม ยังไม่ได้รับหนังสือดังกล่าว จึงได้ทําหนังสือที่ สธ 5100/477 ถึงผู้อํานวยการ รพ.ราชวิถี ติดตาม spec (เอกสารแนบ 16)

วันที่ 3 สิงหาคม 2564 มีการประชุมร่วมระหว่าง สปสช และ องค์การเภสัชกรรม สรุปเปิด ซองวันที่ 7 สิงหาคม 2564 ประชุมคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม เพื่อขออนุมัติสั่งซื้อในวันที่ 8 สิงหาคม 2564 ส่งเรื่องไปกองกฎหมายเพื่อทํานิติกรรมสัญญาในวันที่ 10 สิงหาคม 2564 กําหนดส่งมอบ 2 สัปดาห์ หลังทําสัญญา (เอกสารแนบ 17) องค์การเภสัชกรรมจึงได้ดําเนินกระบวนการจัดหาชุดตรวจฯ อีกครั้ง โดยวิธี คัดเลือก (เอกสารแนบ 18) ในวันเดียวกัน นายอารักษ์ วงศ์วรชาติ คงเห็นว่าผู้อํานวยการ นายวิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ จะจัดหาโดยวิธีคัดเลือกอีกแล้ว จึงได้โทรศัพท์หานายวิฑูรย์ เวลา 14.05 น. แต่นายวิฑูรย์ ไม่สะดวกรับสาย จึงโทร.กลับไปเวลา 18.05 น. และถูก นายอารักษ์ ข่มขู่ว่า “ถ้าเอาของจีนเข้ามาผมโวยวายแน่” และยังชี้เป้าว่า มี 2 เจ้า คือ Abbott และ Standard 2 ทั้งๆ ที่ใน spec ตัดมาตรฐาน WHO ออกแล้ว แสดงว่าบริษัทที่ขึ้นทะเบียน อย.จํานวน 20 กว่าราย จะเข้าได้หมด แต่ก็ยังระบุชื่อเพียง Abbott และ Standard Q (เอกสารแนบ 19)

วันที่ 4 สิงหาคม 2564 องค์การเภสัชกรรม ส่งอีเมลเชิญบริษัทมาเสนอราคา จํานวน 24 ราย (เอกสารแนบ 20) มีบริษัทสอบถามทักท้วงเรื่อง spec องค์การเภสัชกรรม จึงทําหนังสือถึง รพ.ราชวิถี ขอให้สอบถาม สปสช (เอกสารแนบ 21) สปสช.จึงทําหนังสือตอบกลับมาและแก้ spec ตามที่บริษัททักท้วง (เอกสารแนบ 22) องค์การเภสัชกรรมจึงได้ดําเนินการแก้ spec (เอกสารแนบ 23) ในวันเดียวกัน ในการ ประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน ได้สั่งการนายจเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช. ในที่ประชุม ให้ใช้วิธีประมูล ไม่ให้ใช้วิธีเฉพาะเจาะจง เพราะมีชุดตรวจ ATK ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ อย.แล้ว ประมาณ 30 รายการ (เอกสารแนบ 24)

วันที่ 7 สิงหาคม 2564 เป็นวันเปิดซอง มีบริษัทมายื่นเอกสารเสนอราคา 19 ราย คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีคัดเลือก ตรวจสอบคุณสมบัติผ่านตามข้อกําหนด 16 ราย บริษัท เวิลด์ เมดิคอล อัลไลแอนซ์ (ประเทศไทย) จํากัด (ได้รับมอบอํานาจให้เป็นผู้แทนจําหน่ายจากบริษัท ออสท์แลนด์ แคปปิตอล จํากัด) เสนอราคาต่ําที่สุด 65 บาท (ไม่รวม VAT) จึงเป็นผู้ชนะ องค์การเภสัชกรรมเสนอคณะกรรมการ องค์การเภสัชกรรมให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 11 และ 16 สิงหาคม 2564 (เอกสารแนบ 25)

นายเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ และ นายอารักษ์ วงศ์วรชาติ ยังมีความพยายามที่จะเอื้อ ประโยชน์ให้กับบริษัท เอ็มพีกรุ๊ป (Standard Q) โดยให้ข่าวบิดเบือนโจมตีว่าองค์การเภสัชกรรม ลด spec ในการจัดหา และด้อยค่าผลิตภัณฑ์ Lepu ที่ประมูลได้ อย่างต่อเนื่อง และยังข่มขู่ผู้อํานวยการ นายวิฑูรย์ หวังไม่ให้มีการเซ็นสัญญาซื้อ Lepu (เอกสารแนบ 26 -ส่งมาบางส่วน และจะมีเพิ่มเติมอีกภายหลัง)

3. ความเสียหายที่เกิดขึ้น
เนื่องจากองค์การเภสัชกรรมไม่ยอมเป็นเครื่องมือให้ นายเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ และ นายอารักษ์ วงศ์วรชาติ ในการล็อก spec ทําให้ไม่มีความเสียหายเป็นตัวเงินงบประมาณในการจัดซื้อก็จริง แต่มีความเสียหายในเรื่องความล่าช้าเป็นอย่างมาก หากในวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 นายเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ และ นายอารักษ์ วงศ์วรชาติ ไม่เข้ามาข่มขู่กรรมการเปิดซอง ไม่มาเพิ่มเติม spec ในส่วน ที่ไม่ได้ตกลงกันไว้ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท เอ็มพีกรุ๊ป (Standard Q) การเปิดซองก็ไม่ต้องถูกเลื่อน ประเทศไทยก็จะได้รับชุดตรวจ ATK ครบ 85 ล้านชุด ในสิ้นเดือนสิงหาคม 2564 ไม่ใช่เพิ่งลงนาม ในสัญญาเหมือนที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ทําให้ประชาชนเสียโอกาสในการแยกตัวผู้ป่วยออกจากผู้ไม่ติดเชื้อ มีผู้เจ็บป่วยล้มตายมากขึ้น

จากข้อเท็จจริงทั้งหมดที่กล่าวมา จะเห็นข้อพิรุธหลายประการของ นายเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูล เกียรติ และ นายอารักษ์ วงศ์วรชาติ ที่กระทําผิดต่อพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอ ราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542

จึงเรียนมาเพื่อโปรดดําเนินการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวด้วย จักเป็นพระคุณ

ขอแสดงความนับถือ
(นายวิฑูรย์ ด่านวิบูลย์) ผู้อํานวยการองค์การเภสัชกรรม

drama-addictdrama-addict
drama-addict

ข่าวdrama addict รวมข่าวdrama addict วันนี้ล่าสุด อัปเดตข่าวของdrama addict ทุกประเด็นข่าววันนี้ ข่าวล่าสุดเกี่ยวกับdrama addict ข่าวด่วนเกี่ยวกับdrama addict โพส Drama-Addict ,เฟส Drama-Addict ,ข่าว Drama-Addict, ดราม่า - แอดดิค